Understand spoken Thai

"Being polite 1 (Dialogue)" in Thai

ความสุภาพ 1 (บทสนทนา)

Unstarted

Literal Breakdown

Recording English Thai Learn
Hello. (male polite form)

สวัสดีครับ

In this chapter I will talk about politeness and impoliteness.

ในบทนี้ผมจะพูดถึงเรื่องความสุภาพและก็ความไม่สุภาพนะครับ

I will divide it into three large types.

ผมจะแบ่งออกเป็นสามหมวดใหญ่ๆ นะครับ

The first is the language.

อันแรกก็คือ ภาษา

The second er...is various gestures.

อันที่สองก็คือ เอ่อ.. ท่าทางต่างๆ

And then about the appropriateness.

และก็เรื่องของกาลเทศะนะครับ

In Thailand, the use of language is mixed.

ในเมืองไทย การใช้ภาษามันก็จะปะปนกันไปนะครับ

There is polite language and impolite language.

มีทั้งภาษาที่สุภาพและก็ภาษาที่ไม่สุภาพ

But not that using impolite language is a bad thing.

แต่ไม่ใช่ว่าการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีนะครับ

It depends on the level of intimacy of the people that we talk to.

คือมันจะขึ้นอยู่กับระดับความสนิทสนมของคนที่เราคุยด้วยนะครับ

The type with friends, we probably wouldn’t use very polite language with them.

อย่างเพื่อนเนี่ย เราคงจะไม่ใช้ภาษาแบบสุภาพๆ กับเพื่อนหรอก

That is, when we are close to our friends.

คือ..เราสนิทกับเพื่อน

We will use the language that er...makes more intimacy.

เราก็จะใช้ภาษาที่ เอ่อ..ทำให้เกิดความสนิทสนมมากขึ้น

So we use various pronouns.

ดังนั้นสรรพนามบางตัวที่ใช้

Instead of us saying I and you, we will change to informal words for “you” or “I”.

แทนที่จะพูดว่าผมและก็คุณอย่างงี้ เราก็จะเปลี่ยนเป็นมึงหรือว่ากู

such as; for example

อย่างเช่น

When I talk to my friends.

เวลาที่ผมคุยกับเพื่อนเนี่ย

I will address my friends using the impolite form of “you”.

ผมก็จะเรียกเพื่อนว่ามึง

such as; for example (long form)

ตัวอย่างเช่น

Where are you going? (male impolite form)

มึงจะไปไหนอะ?

Yeah, I am going too. (impolite form)

เออ กูไปด้วย

Shall we go to eat?

ไปกินข้าวปะ

I’m hungry. (impolite form)

กูหิวแล้ว

Something like this. (male polite form)

อะไรอย่างงี้นะครับ

But to use the impolite form of the words “you” or “I” you must have a really close friendship with the people.

แต่ว่าคำว่า มึง กู นี้ต้องใช้กับคนที่สนิทจริงๆ นะครับ

That is not with distant friends.

คือไม่ใช่ว่าเป็นเพื่อนห่างๆ

This I don’t recommend to use.

อันนี้ผมไม่แนะนำให้ใช้นะครับ

It must be a friend of the same age.

ต้องเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน

Friends who are close to each other.

เพื่อนที่สนิทกัน

Being friends who have known each other for a long time.

เป็นเพื่อนที่รู้จักกันมานาน

Then you can use the impolite form of the words “you” and “I”.

ถึงจะใช้คำว่า มึง กู ได้

We don’t use the impolite form of “you” or “I” with a friend of opposite sex.

เราไม่ใช้ มึง กู กับเพื่อนต่างเพศนะครับ

That is we don’t address a woman using the impolite form of “you”, something like this.

คือเราไม่เรียกผู้หญิงว่า มึง อะไรอย่างงี้นะ

Because it hardly ever looks good at all.

เพราะว่ามันดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่

But some...some groups, some people, really close friends with each other, they can use these.

แต่ว่า บาง..บางกลุ่มบางคน เป็นเพื่อนกันจริงๆ คือสนิทกันมากๆ ก็ใช้ได้นะครับ

But mostly you will rarely see men addressing women using the impolite form of “you”, something like this.

แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเห็นผู้ชายเรียกผู้หญิงว่า มึง อะไรอย่างงี้นะ

We might change the impolite form of the word “you”, to the impolite female form of “you”, when addressing women who are our friends.

เราอาจจะเปลี่ยนคำว่า มึง เป็นคำว่า แก ก็ได้ เวลาเรียกผู้หญิงที่เป็นเพื่อนกันอะ

For example...where are you going?

อย่าง..แกจะไปไหน?

What are you doing? (impolite form)

แกทำอะไรอยู่?

Something like this. (male polite form)

อะไรอย่างงี้นะครับ

We will adjust it to suit for gender.

เราจะปรับให้มันเหมาะสมกับเพศ

Because women are the gentle sex.

เพราะว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนโยน

We will have to say something that is gentle.

เราจะต้องพูดอะไรที่มันแบบอ่อนโยน

The impolite forms of “you” and “I” are simply rude.

คำว่า มึง กู มันหยาบไปไง

That it is very rude too.

คือมันหยาบมากด้วย

But if it were “you”, it might be like...not so rude.

แต่ถ้าเป็น แก อาจจะแบบ เอ่อ..ไม่ค่อยหยาบเท่าไหร่

But for me, when I address a woman, I will call her with the polite form of “you”.

แต่ว่าสำหรับผมแล้ว เวลาผมเรียกผู้หญิง ผมจะเรียกว่าเธอนะครับ

I will use the really polite form of the word, that is “you”.

จะใช้คำสุภาพเลย คือคำว่า เธอ

“You” (the polite form), do you like it?

เธอชอบไหม?

What do you want to eat?

เธออยากกินอะไร?

Notes

Gun talks about different options how to express I and you in Thai, depending on the situation and the level of politeness required.

Transcript

สวัสดีครับ ในบทนี้ผมจะพูดถึงเรื่อง ความสุภาพ และก็ความไม่สุภาพนะครับ  ผมจะแบ่งออกเป็นสามหมวดใหญ่ ๆ นะครับ อันแรกก็คือ ภาษา อันที่สองก็คือ เอ่อ.. ท่าทางต่าง ๆ  และก็เรื่องของกาลเทศะนะครับ  ในเมืองไทย การใช้ภาษามันก็จะปะปนกันไปนะครับ มีทั้งภาษาที่สุภาพ และก็ภาษาที่ไม่สุภาพ แต่ไม่ใช่ว่าการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีนะครับ คือมันจะขึ้นอยู่กับระดับความสนิทสนมของคนที่เราคุยด้วยนะครับ อย่างเพื่อนเนี่ยเราคงจะไม่ใช้ภาษาแบบสุภาพ ๆ กับเพื่อนหรอก คือ..เราสนิทกับเพื่อน เราก็จะใช้ภาษาที่ เอ่อ..ทำให้เกิดความสนิทสนมมากขึ้น ดังนั้นสรรพนามบางตัวที่ใช้ แทนที่จะพูดว่าผมและก็คุณอย่างเงี้ย  เราก็จะเปลี่ยนเป็น มึง หรือว่า กู อย่างเช่นเวลาที่ผมคุยกับเพื่อนเนี่ย ผมก็จะเรียกเพื่อนว่ามึง ตัวอย่างเช่น มึงจะไปไหนอะ?  เออ.. กูไปด้วย ไปกินข้าวปะ? กูหิวแล้ว อะไรอย่างงี้นะครับ แต่ว่าคำว่า มึงกู นี้ต้องใช้กับคนที่สนิทจริง ๆ นะครับ คือไม่ใช่ว่าเป็นเพื่อนห่าง ๆ อันนี้ผมไม่แนะนำให้ใช้นะครับ ต้องเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน เพื่อนที่สนิทกัน เป็นเพื่อนที่รู้จักกันมานาน ถึงจะใช้คำว่า มึง กู ได้ เราไม่ใช้ มึง กู กับเพื่อนต่างเพศนะครับ คือเราไม่เรียกผู้หญิงว่า มึง อะไรอย่างงี้นะ เพราะว่ามันดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ว่า บาง..บางกลุ่มบางคน เป็นเพื่อนกันจริง ๆ คือสนิทกันมาก ๆ ก็ใช้ได้นะครับ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเห็นผู้ชายเรียกผู้หญิงว่ามึงอะไรอย่างงี้นะ  เราอาจจะเปลี่ยนคำว่า มึง เป็นคำว่า แก ก็ได้ เวลาเรียกผู้หญิงที่เป็นเพื่อนกันอะ อย่าง..แกจะไปไหน? แกทำอะไรอยู่ ? อะไรอย่างงี้นะครับ  เราจะปรับให้มันเหมาะสมกับเพศ เพราะว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนโยน เราจะต้องพูดอะไรที่มันแบบอ่อนโยน คำว่า มึง กู มันหยาบไปไง คือมันหยาบมากด้วย แต่ถ้าเป็น แก อาจจะแบบ เอ่อ..ไม่ค่อยหยาบเท่าไหร่ แต่ว่าสำหรับผมแล้ว เวลาผมเรียกผู้หญิง ผมจะเรียกว่าเธอนะครับ จะใช้คำสุภาพเลย คือคำว่า เธอ เธอชอบไหม? เธออยากกินอะไร? เธอจะไปไหน? เธอว่างไหม? อะไรอย่างงี้นะครับ  เพราะว่า ถึงแม้จะเป็นเพื่อนกัน แต่ว่าเราก็ให้เกียรติผู้หญิง ในฐานะเพศแม่นะครับ ถ้าเกิดว่าเราเจอคนที่ยังไม่รู้จักเนี่ย เราควรจะใช้คำว่าพี่ หรือว่าน้องแทน อย่างเช่นเวลาผมเรียก เอ่อ..คนที่เขาขายของ เวลาผมซื้อของเงี้ย ผมจะพูดว่า พี่ ๆ เท่าไหร่? อันนี้เท่าไหร่?  ถ้าเกิดเป็น เอ่อ.. เป็นป้าหรือว่าเป็นน้า เราก็จะเรียกว่า ป้า หรือว่า น้า เช่น ป้า..ขายอันนี้ยังไง?  ป้า..อันนี้เท่าไหร่เหรอครับ?  แต่ว่าเวลาที่ผมไปร้านอาหาร เวลาที่ผมเจอเด็กเสิร์ฟ ส่วนใหญ่เด็กเสิร์ฟจะอายุน้อย คือเป็นเด็กนักเรียนหรือว่านักศึกษา ผมก็จะเรียกเขาว่าน้อง อย่างเช่น น้องๆ.. เอ่อเช็คบิลหน่อย น้องๆ ..ขอสั่งเพิ่มหน่อย อะไรอย่างงี้นะครับ คือเราจะปรับจากคำว่า พี่ เป็นคำว่า น้อง แต่ถ้าเกิดว่าพนักงานเสิร์ฟอายุมากกว่าเรา คืออาวุโสกว่าเรา  เราก็จะเรียกว่า พี่ พี่ ๆ.. เอ่ออันนี้เท่าไหร่ครับ? พี่ ๆ..เก็บเงินหน่อยครับ อะไรอย่างงี้นะครับ    แต่ถ้าเราต้องการความเป็นทางการเวลาพูดใน เอ่อ..ห้องประชุม หรือว่า ที่สาธารณะ เราควรจะใช้คำว่า ผม หรือว่า คุณ เวลาเรียกคนอื่น อย่างเช่น คุณสมศรี..คุณคิดว่ายังไงกับธุรกิจนี้?  คุณมีนา..คุณว่าแบบนี้ดีไหม? แล้วเราก็จะแทนตัวเองว่า ผม อย่างที่ผมพูดอยู่ตอนเนี้ย ผมก็เรียกตัวเองว่า ผม เพราะว่าเป็นทางการไง ถ้าเป็นผู้หญิง เขาจะเรียกตัวเองว่าดิฉัน ดิฉันว่า.. ดิฉันอย่างงั้น..อย่างงี้นะครับ ผู้ชายเรียกว่า ผม ผู้หญิงแทนตัวเองว่า ดิฉัน เดี๋ยวผมจะลอง ยกบทสนทนาสักบทสองบท เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้นนะครับ อย่างบทแรกผมจะพูดถึงเรื่อง เอ่อ..ความไม่สุภาพก่อน ใช้กับเพื่อนอย่างงี้นะครับ เวลาที่เพื่อนผมมาบ้าน อย่างเช่นเพื่อนผมชื่อกอล์ฟ ผมอาจจะเรียกว่า  เอ้อ!..ว่าไงวะกอล์ฟ เป็นไงบ้าง? ไม่ได้เจอกันนานเลย ไปไหนมาวะ? เขาอาจจะตอบผมว่า เออ..กูพึ่งกลับมาจากกรุงเทพฯ ว่ะ มึงกินข้าวยัง?  เดี๋ยวกูว่าจะเลี้ยงข้าวหน่อย เดี๋ยวมึงลองโทรตามเพื่อนคนอื่น ๆ มาก็ได้นะ จะได้คุยกันไม่ได้เจอกันนาน ต่อไปเป็นตัวอย่างที่สุภาพเวลาเราคุยกับคนที่อายุมากกว่าเรา เราจะเรียกเขาว่าพี่นะครับ อย่างเช่น อ้าว!..เป็นไงพี่จิ๊บ? ไม่ได้เจอกันนานเลย พี่สบายดีปะ? เขาอาจจะตอบผมว่า เอ้อ!..พี่ก็สบายดีนะ แล้วแกเป็นไงบ้างล่ะ? แก..ช่วงนี้ได้ข่าวว่าทำงานนี่นา เป็นไง..สนุกไหมงาน?  อะไรอย่างงี้นะครับ ถ้าเกิดเป็นคนในระดับเดียวกัน คือวัยเดียวกัน หรือว่า เอิ่ม..ระดับการทำงานรุ่นเดียวกัน อาจใช้คำว่า คุณ ก็ได้นะครับ อย่างเช่น คุณหนึ่งเป็นไงบ้างครับ สบายดีไหม?ไม่ได้เจอกันนานเลย  เขาอาจจะตอบว่า พี่ก็สบายดีนะ แต่ว่าช่วงนี้พี่งานเยอะมากเลย งานยุ่งมากที่บริษัท พี่ไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาหาเลยอะ แล้วเป็นไงบ้าง? ช่วงนี้เขาเรียนกันไปถึงไหนแล้ว? พี่ตามทันหรือเปล่าเนี่ย? ถ้าเกิดว่าผู้หญิงคนที่เราคุยด้วย เขาอายุน้อยกว่า เขาอาจจะแทนตัวเองว่า หนู นะครับ เช่น หนูชื่อ..หนูชื่อจิ๊บค่ะ แล้วพี่ชื่ออะไรคะ? อะไรอย่างงี้นะครับ ในบางครั้งถ้าเกิดเราคุยกับเพื่อนที่ยังไม่สนิทมาก เราอาจจะแทนตัวเองว่า เรา นะครับ เช่น เราชื่อเจ แล้วนายชื่ออะไรล่ะ? หรืออาจจะเป็นผู้ชายผู้หญิงคุยกันนะครับ อย่างเช่น เราชื่อกันต์ แล้วเธอชื่ออะไรเหรอ?

Summary

The Thai translation for “Being polite 1 (Dialogue)” is ความสุภาพ 1 (บทสนทนา). The Thai, ความสุภาพ 1 (บทสนทนา), can be broken down into 134 parts:"Hello. (male polite form)" (สวัสดีครับ), "In this chapter I will talk about politeness and impoliteness." (ในบทนี้ผมจะพูดถึงเรื่องความสุภาพและก็ความไม่สุภาพนะครับ), "I will divide it into three large types." (ผมจะแบ่งออกเป็นสามหมวดใหญ่ๆ นะครับ), "The first is the language." (อันแรกก็คือ ภาษา), "The second er...is various gestures." (อันที่สองก็คือ เอ่อ.. ท่าทางต่างๆ), "And then about the appropriateness." (และก็เรื่องของกาลเทศะนะครับ), "In Thailand, the use of language is mixed." (ในเมืองไทย การใช้ภาษามันก็จะปะปนกันไปนะครับ), "There is polite language and impolite language." (มีทั้งภาษาที่สุภาพและก็ภาษาที่ไม่สุภาพ), "But not that using impolite language is a bad thing." (แต่ไม่ใช่ว่าการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีนะครับ), "It depends on the level of intimacy of the people that we talk to." (คือมันจะขึ้นอยู่กับระดับความสนิทสนมของคนที่เราคุยด้วยนะครับ), "The type with friends, we probably wouldn’t use very polite language with them." (อย่างเพื่อนเนี่ย เราคงจะไม่ใช้ภาษาแบบสุภาพๆ กับเพื่อนหรอก), "That is, when we are close to our friends." (คือ..เราสนิทกับเพื่อน), "We will use the language that er...makes more intimacy." (เราก็จะใช้ภาษาที่ เอ่อ..ทำให้เกิดความสนิทสนมมากขึ้น), "So we use various pronouns." (ดังนั้นสรรพนามบางตัวที่ใช้), "Instead of us saying I and you, we will change to informal words for “you” or “I”." (แทนที่จะพูดว่าผมและก็คุณอย่างงี้ เราก็จะเปลี่ยนเป็นมึงหรือว่ากู), "such as; for example" (อย่างเช่น), "When I talk to my friends." (เวลาที่ผมคุยกับเพื่อนเนี่ย), "I will address my friends using the impolite form of “you”." (ผมก็จะเรียกเพื่อนว่ามึง), "such as; for example (long form)" (ตัวอย่างเช่น), "Where are you going? (male impolite form)" (มึงจะไปไหนอะ?), "Yeah, I am going too. (impolite form)" (เออ กูไปด้วย), "Shall we go to eat?" (ไปกินข้าวปะ), "I’m hungry. (impolite form)" (กูหิวแล้ว), "Something like this. (male polite form)" (อะไรอย่างงี้นะครับ), "But to use the impolite form of the words “you” or “I” you must have a really close friendship with the people." (แต่ว่าคำว่า มึง กู นี้ต้องใช้กับคนที่สนิทจริงๆ นะครับ), "That is not with distant friends." (คือไม่ใช่ว่าเป็นเพื่อนห่างๆ), "This I don’t recommend to use." (อันนี้ผมไม่แนะนำให้ใช้นะครับ), "It must be a friend of the same age." (ต้องเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน), "Friends who are close to each other." (เพื่อนที่สนิทกัน), "Being friends who have known each other for a long time." (เป็นเพื่อนที่รู้จักกันมานาน), "Then you can use the impolite form of the words “you” and “I”." (ถึงจะใช้คำว่า มึง กู ได้), "We don’t use the impolite form of “you” or “I” with a friend of opposite sex." (เราไม่ใช้ มึง กู กับเพื่อนต่างเพศนะครับ), "That is we don’t address a woman using the impolite form of “you”, something like this." (คือเราไม่เรียกผู้หญิงว่า มึง อะไรอย่างงี้นะ), "Because it hardly ever looks good at all." (เพราะว่ามันดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่), "But some...some groups, some people, really close friends with each other, they can use these." (แต่ว่า บาง..บางกลุ่มบางคน เป็นเพื่อนกันจริงๆ คือสนิทกันมากๆ ก็ใช้ได้นะครับ), "But mostly you will rarely see men addressing women using the impolite form of “you”, something like this." (แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเห็นผู้ชายเรียกผู้หญิงว่า มึง อะไรอย่างงี้นะ), "We might change the impolite form of the word “you”, to the impolite female form of “you”, when addressing women who are our friends." (เราอาจจะเปลี่ยนคำว่า มึง เป็นคำว่า แก ก็ได้ เวลาเรียกผู้หญิงที่เป็นเพื่อนกันอะ), "For example...where are you going?" (อย่าง..แกจะไปไหน?), "What are you doing? (impolite form)" (แกทำอะไรอยู่?), "Something like this. (male polite form)" (อะไรอย่างงี้นะครับ), "We will adjust it to suit for gender." (เราจะปรับให้มันเหมาะสมกับเพศ), "Because women are the gentle sex." (เพราะว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนโยน), "We will have to say something that is gentle." (เราจะต้องพูดอะไรที่มันแบบอ่อนโยน), "The impolite forms of “you” and “I” are simply rude." (คำว่า มึง กู มันหยาบไปไง), "That it is very rude too." (คือมันหยาบมากด้วย), "But if it were “you”, it might be like...not so rude." (แต่ถ้าเป็น แก อาจจะแบบ เอ่อ..ไม่ค่อยหยาบเท่าไหร่), "But for me, when I address a woman, I will call her with the polite form of “you”." (แต่ว่าสำหรับผมแล้ว เวลาผมเรียกผู้หญิง ผมจะเรียกว่าเธอนะครับ), "I will use the really polite form of the word, that is “you”." (จะใช้คำสุภาพเลย คือคำว่า เธอ), "“You” (the polite form), do you like it?" (เธอชอบไหม?), "What do you want to eat?" (เธออยากกินอะไร?), "Where are you going? (to a female)" (เธอจะไปไหน?), "Are you free? (female speaker)" (เธอว่างไหม?), "Something like this. (male polite form)" (อะไรอย่างงี้นะครับ), "because even though they are friends" (เพราะว่าถึงแม้จะเป็นเพื่อนกัน), "But we respect women as our mothers." (แต่ว่าเราก็ให้เกียรติผู้หญิงในฐานะเพศแม่นะครับ), "if we meet someone that we do not know" (ถ้าเกิดว่าเราเจอคนที่ยังไม่รู้จักเนี่ย), "We should use the word “you” (for people older than you) or “you” (for people younger than you)." (เราควรจะใช้คำว่า พี่ หรือว่า น้อง แทน), "For example, when I call er...a seller." (อย่างเช่นเวลาผมเรียก เอ่อ..คนที่เขาขายของ), "When I buy something then I will say “you”...“you” (using the form for older people), how much is this?" (เวลาผมซื้อของเงี้ย ผมจะพูดว่า พี่..พี่ เท่าไหร่?), "How much is this?" (อันนี้เท่าไหร่?), "If it happens that it’s er...“you” (for a woman older than speaker’s mother) or “you” (for a woman younger than speaker’s mother)" (ถ้าเกิดเป็น เอ่อ.. เป็นป้าหรือว่าเป็นน้า), "We would address them as “you” (for a woman older than speaker’s mother) or “you” (for a woman younger than speaker’s mother)." (เราก็จะเรียกว่า ป้า หรือว่า น้า), "For example, you (to a woman older than speaker’s mother)...how much is this?" (เช่น ป้า..ขายอันนี้ยังไง?), "You (for a woman older than speaker’s mother)...how much is this?" (ป้า..อันนี้เท่าไหร่เหรอครับ?), "but when I go to a restaurant" (แต่ว่าเวลาที่ผมไปร้านอาหาร), "when I meet a waitress" (เวลาที่ผมเจอเด็กเสิร์ฟ), "Most waiters are young." (ส่วนใหญ่เด็กเสิร์ฟจะอายุน้อย), "That is a student or undergraduate." (คือเป็นเด็กนักเรียนหรือว่านักศึกษา), "I will address them using “you” (for younger people)." (ผมก็จะเรียกเขาว่าน้อง), "For example, you...you (to younger person), er...could I have the bill." (อย่างเช่น น้อง น้อง เอ่อ..เช็คบิลหน่อย), "You...you (to younger person), can I order more food." (น้อง..น้อง ขอสั่งเพิ่มหน่อย), "Something like this. (male polite form)" (อะไรอย่างงี้นะครับ), "That is, we will change from using the word “you” (for older people) to the word “you” (for younger people)." (คือเราจะปรับจากคำว่า พี่ เป็นคำว่า น้อง), "But if the waitress is older than us, that is that they are definitely older than us..." (แต่ถ้าเกิดว่าพนักงานเสิร์ฟอายุมากกว่าเรา คืออาวุโสกว่าเรา), "We will address them with the word “you” (for older people) you...you er...how much is this?" (เราก็จะเรียกว่าพี่ พี่..พี่ เอ่อ..อันนี้เท่าไหร่ครับ?), "You...you (to an older person) could I have the bill." (พี่..พี่ เก็บเงินหน่อยครับ), "Something like this. (male polite form)" (อะไรอย่างงี้นะครับ), "but if we want to be formal when speaking in er...a meeting room or a public place" (แต่ถ้าเราต้องการความเป็นทางการเวลาพูดใน เอ่อ..ห้องประชุม หรือว่า ที่สาธารณะ), "We should use the words “me” or “you” when talking with someone." (เราควรจะใช้คำว่า ผม หรือว่า คุณ เวลาเรียกคนอื่น), "For example, Somsri...what do you think about this business?" (อย่างเช่น คุณสมศรี..คุณคิดว่ายังไงกับธุรกิจนี้?), "Meena...do you think this is good?" (คุณมีนา..คุณว่าแบบนี้ดีไหม?), "And we will replace “yourself” with the word “I” as I am doing now." (แล้วเราก็จะแทนตัวเองว่า ผม อย่างที่ผมพูดอยู่ตอนนี้), "I also refer to myself with the word “I” because it is a formal word." (ผมก็เรียกตัวเองว่า ผม เพราะว่าเป็นทางการไง), "If it is a woman, she will refer to herself using the word “I” (for women)." (ถ้าเป็นผู้หญิง เขาจะเรียกตัวเองว่าดิฉัน), "“I said...I am like this” (female polite form). Like this." (ดิฉันว่า.. ดิฉันอย่างงั้น..อย่างงี้นะครับ), "A man refers to himself with the word “I”." (ผู้ชายเรียกว่า ผม), "A woman instead refers to herself with the word “I”." (ผู้หญิงแทนตัวเองว่า ดิฉัน), "In a moment I will try to give you examples of a few conversations." (เดี๋ยวผมจะลองยกบทสนทนาสักบทสองบท), "for comparison, for everyone to understand more" (เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้นนะครับ), "As example of the first part, I will talk about er...impoliteness first." (อย่างบทแรก ผมจะพูดถึงเรื่อง เอ่อ..ความไม่สุภาพก่อน), "To use with friends like this." (ใช้กับเพื่อนอย่างงี้นะครับ), "When my friends come to my house." (เวลาที่เพื่อนผมมาบ้าน), "For example, my friend’s name is Golf." (อย่างเช่นเพื่อนผมชื่อกอล์ฟ), "I might say, hey! .. What’s up, Golf?" (ผมอาจจะเรียกว่า เอ้อ!.. ว่าไงวะกอล์ฟ), "How are you? (informal)" (เป็นไงบ้าง), "We haven’t seen each other for a long time." (ไม่ได้เจอกันนานเลย), "Where have you been? (informal)" (ไปไหนมาวะ?), "He might answer me that yeah.. I have just came back from Bangkok." (เขาอาจจะตอบผมว่า เออ..กูพึ่งกลับมาจากกรุงเทพว่ะ), "Have you eaten yet? (male impolite form)" (มึงกินข้าวยัง?), "I think I’ll treat you immediately. (impolite form)" (เดี๋ยวกูว่าจะเลี้ยงข้าวหน่อย), "In a moment you can try to call other friends to meet up as we haven’t seen each other for a long time." (เดี๋ยวมึงลองโทรตามเพื่อนคนอื่นๆ มาก็ได้นะ จะได้คุยกันไม่ได้เจอกันนาน), "Next, an example of a polite form when we talk to people who are older than us." (ต่อไปเป็นตัวอย่างที่สุภาพเวลาเราคุยกับคนที่อายุมากกว่าเรา), "We will address them using the impolite form of the word “you”. (male polite form)" (เราจะเรียกเขาว่าพี่นะครับ), "For example, Hey!... How are you, Jib?" (อย่างเช่น อ้าว!..เป็นไงพี่จิ๊บ?), "We haven’t seen each other for a long time." (ไม่ได้เจอกันนานเลย), "How are you? (to someone older)" (พี่สบายดีปะ?), "He might answer me “Hey... I’m fine, and you?”" (เขาอาจจะตอบผมว่า เอ้อ!..พี่ก็สบายดีนะ แล้วแกเป็นไงบ้างล่ะ?), "You... I have heard that you are working now." (แก..ช่วงนี้ได้ข่าวว่าทำงานนี่นา), "What’s up?" (เป็นไง), "Is your work fun?" (สนุกไหมงาน?), "Something like this. (male polite form)" (อะไรอย่างงี้นะครับ), "if being a person of the same level and of the same age" (ถ้าเกิดเป็นคนในระดับเดียวกัน คือวัยเดียวกัน), "Or er... the same working level." (หรือว่า เอ่อ..ระดับการทำงานรุ่นเดียวกัน), "You may be using the polite form of the word “you”." (อาจใช้คำว่า คุณ ก็ได้นะครับ), "For example, Miss Nueng...how are you?" (อย่างเช่น คุณหนึ่ง..เป็นไงบ้างครับ สบายดีไหม?), "He might answer that I’m fine." (เขาอาจจะตอบว่า พี่ก็สบายดีนะ), "But I have a lot of work during this period." (แต่ว่าช่วงนี้พี่งานเยอะมากเลย), "The work at my company is very busy." (งานยุ่งมากที่บริษัท), "I don’t have much time to come to see you." (พี่ไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาหาเลยอะ), "How are you doing?" (แล้วเป็นไงบ้าง?), "How was your school recently?" (ช่วงนี้เขาเรียนกันไปถึงไหนแล้ว?), "Are you following your class?" (พี่ตามทันหรือเปล่าเนี่ย?), "if the woman we are talking to is younger than us" (ถ้าเกิดว่าผู้หญิงคนที่เราคุยด้วย เขาอายุน้อยกว่า), "She maybe would use the cute female form of the word “I”." (เขาอาจจะแทนตัวเองว่า หนู นะครับ), "For example, my name... my name is Jib." (เช่น หนูชื่อ..หนูชื่อจิ๊บค่ะ), "What is your name? (female speaker)" (แล้วพี่ชื่ออะไรคะ?), "Something like this. (male polite form)" (อะไรอย่างงี้นะครับ), "sometimes, if we talk to a friend who is not very close" (ในบางครั้งถ้าเกิดเราคุยกับเพื่อนที่ยังไม่สนิทมาก), "We may be use the informal form of the word “I”." (เราอาจจะแทนตัวเองว่า เรา นะครับ), "For example, my name is Jay." (เช่น เราชื่อเจ), "And you, what’s your name? (informal, talking with male friends)" (แล้วนายชื่ออะไรล่ะ?), "Or maybe a man and woman are talking with each other." (หรืออาจจะเป็นผู้ชายผู้หญิงคุยกันนะครับ), "For example, my name is Gun." (อย่างเช่น เราชื่อกันต์) and "What is your name? (informal)" (แล้วเธอชื่ออะไรเหรอ?).

Examples of "Being polite 1 (Dialogue)" in use

There is 1 example of the Thai word for "Being polite 1 (Dialogue)" being used:

Practice Lesson

Acknowledgements

Audio
Audio source

aakanee.com